ปรากฏการณ์ ‘กุ้งเดินขบวน’ อุบลราชธานี เตรียมเปิดให้เข้าชมภายในวันที่ 1 ก.ย. นี้

ปรากฏการณ์ ‘กุ้งเดินขบวน’ อุบลราชธานี เตรียมเปิดให้เข้าชมภายในวันที่ 1 ก.ย. นี้

ใกล้เข้ามาแล้วกับ ปรากฏการณ์ กุ้งเดินขบวน ณ จังหวัดอุบลราชธานี ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพียงแค่ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น โดยจะเปิดให้เข้าชมได้ภายในวันที่ 1 ถึง 30 กันยายน 2565 นี้(23 ส.ค. 2565) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประชาสัมพันธ์ถึงปรากฏการณ์ กุ้งเดินขบวน ที่เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพียงแค่ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น โดยจะเกิดขึ้น ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี แก่งลำดวน ที่ซึ่งจะเปิดให้สามารถเข้าชมได้ภายในวันที่ 1 ถึง 30 กันยายน 2565 นี้

โดย แก่งลำดวน นั้น ได้ตั้งอยู่ที่บ้านหนองขอน 

ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะของแก่งลำดวนเป็นแก่งหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีสายน้ำลำโดมใหญ่ไหลผ่าน แก่งหินที่กระจายไปทั่วอย่างสวยงามเหล่านี้เหมาะแก่การเที่ยวชมและพักผ่อนหย่อนใจยิ่งนัก ตามปกติแล้วแก่งลำดวนเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตั้งแต่เวลา 08.00 น.- 16.00 น. ของทุกวัน

นอกจากตัวพื้นที่แล้วนั้น แก่งลำดวนยังมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าสนใจอยู่ซึ่งก็คือ ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวน ที่จะเกิดขึ้นปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ภายในช่วงเดือน กันยายนของทุกปี โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้น เป็นการเคลื่อนที่ของบรรดากุ้งจำนวนมากมายมหาศาลขึ้นบนพลาญหินบริเวณแก่งลำดวน เจ้ากุ้งตัวเล็กจำนวนมหาศาลนี้จะพากันเดินทวนกระแสน้ำของสายน้ำลำโดมใหญ่ ที่มักจะมีความเชี่ยวกรากในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี

การเดินขึ้นมาบนบกเพื่อหลบหลีกกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวของเหล่ากุ้งนั้น ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่น่าอัศจรรย์ และสวยงามตื่นตาเป็นอย่างยิ่ง โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นภายในช่วงเวลากลางคืน และมักจะพบเห็นได้ยาก รวมถึงมีปัจจัยที่ไม่แน่นอน เนื่องจากการขึ้นมาของเหล่ากุ้งจะขึ้นอยู่กับบปัจจัยทางธรรมชาติ ฤดูกาล และปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาบริเวณต้นน้ำลำโดมใหญ่

หากปริมาณน้ำมากย่อมส่งผลให้กระแสน้ำแรง และเราจะพบเห็นกุ้งขึ้นมาหลบหนีเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าปริมาณน้ำน้อยย่อมส่งผลให้กระแสน้ำอ่อนลง ก็อาจจะส่งผลให้กุ้งไม่ลี้ภัยขึ้นมา จนไปถึงไม่ขึ้นมาเลย ทำให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือว่าพบเห็นได้นากขึ้น และมีปัจจัยในการเกิดขึ้นจากธรรมชาติเป็นหลัก

จากการตรวจสอบศึกษาเพิ่มเติมแล้วนั้น ก็พบว่ากุ้งที่มาเดินขบวนที่แก่งลำดวนนั้นเป็นชนิดของ “กุ้งก้ามขน” และการอพยพขึ้นมานั้นก็เพื่อมุ่งหน้าสู่พื้นที่แหล่งต้นของสายน้ำลำโดมใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ก็ว่าได้

ในส่วนของการเปิดให้เข้าชม ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวนประจำปี 2565 จะเปิดให้ภายในวันที่ 1-30 กันยายน 2565 ระหว่างเวลา 18.00 – 22:00 น.  ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า อุบลราชธานี โทรศัพท์ : 097-2123951,094-2874156 หรือ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าอุบลราชธานี ตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

ทางด้านของขั้นตอนการเข้าชมปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวนนั้น ทางศูนย์ศึกษาธรรมชาติได้ขอความร่วมมือให้นักท่องเที่ยวทุกท่าน ปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้ ผู้เข้าชมเตรียมไฟฉาย ใส่แมสค์ ให้พร้อม ก่อนเข้าพื้นที่ตรวจวัดอุณหภูมิ/ล้างมือด้วยแอลกอฮอลล์ จากนั้นเข้าประจำจุดเพื่อรับฟังข้อมูลเบื้องต้นและข้อควรปฏิบัติในการเข้าชมกุ้งเดินขบวน ก่อนรับบัตรคิวเข้าชมกุ้งเดินขบวน และประจำจุดรอการเข้าชมกุ้งเดินขบวน จากนั้นเข้าชมกุ้งเดินขบวน (ช่องทางเข้า) และออกจากจุดชมกุ้งเดินขบวน (ช่องทางออก)

ธปท. เลื่อนยืนยันตัวตนที่ตู้เอทีเอ็ม หาวิธีไม่กระทบ ปชช.

ธนาคารแห่งประเทศไทย เลื่อนยืนยันตัวตนที่ตู้เอทีเอ็ม ออกไปก่อนหลังมีกำหนดจะใช้กลางเดือนหน้า เร่งหาวิธีไม่กระทบประชาชน นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการยืนยันตัวตนการฝากเงินผ่านเครื่องรับฝากและถอน หรือ CDM ผ่านบัตรเดบิต บัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเครดิต ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ที่ออกโดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่ก่อนหน้านี้ ได้กำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน ก่อนที่จะถูกเลื่อนออกไปในเวลาต่อมา

นายเศรษฐพุฒิ กล่าวถึงประเด็นการยืนยันตัวตนที่ตู้เอทีเอ็มว่า เข้าใจโจทย์ของ ปปง.ที่มีกฎหมายต้องดำเนินการตามและมีเรื่องที่ต้องทำในส่วนของ ปปง.ด้วย โดยเป็นหน้าที่ของ ธปท.จะหารือร่วมกับหน่วยงานภายใต้การกำกับ เช่น สมาคมธนาคารไทย ที่จะหาวิธีที่ตอบโจทย์และจะไม่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากวิธีการใช้บัตรเครดิต เดบิต และเอทีเอ็ม ซึ่งคิดว่าจะมีแนวทางอื่นๆ ที่สามารถทำได้ โดยระหว่างนี้ที่ ปปง.ได้เลื่อนการใช้บัตรเครดิต เอทีเอ็ม และเดบิตเพื่อการยืนยันออกไปก่อน

เนื่องจากเป็นผู้กำหนดกฎหมาย และ ธปท.จะรับโจทย์มาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะตอนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้รูปแบบใดในการยืนยันตัวตน อีกทั้งภาระยังไม่เกิดกับประชาชน

วิธีเบื้องต้นที่บอกว่าจะให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งก็เป็นแง่ดีเพราะทุกคนมีบัตรประจำตัวประชาชน ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยง เนื่องจากขั้นตอนการทำธุรกรรมที่ต้องเสียบบัตรประจำตัวประชาชน อาจจะเกิดการลืมบัตร หรือทำบัตรหายได้ หรือหากมองอีกมุมหากต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการเสียบบัตรใส่ตู้ธนาคาร CDM ซึ่งส่วนของธนาคารต้องเปลี่ยนระบบที่ตู้ของธนาคารส่งผลให้ต้นทุนธนาคารสูงขึ้น ดังนั้น เรื่องการใช้บัตรประจำตัวประชาชน เพื่อทำการยืนยันตัวตนยังไม่ใช่แนวทางที่เหมาะสมที่สุดหรือตอบโจทย์ที่สุด เนื่องจากเมื่อต้นทุนธนาคารเพิ่มขึ้น ท้ายที่สุดก็ต้องมีการส่งผ่านต้นทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมไปสู่ผู้บริโภคหรือประชาชนอยู่ดี

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป